วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไก่ชน




ประวัติไก่ชน




ไก่ชน มีประวัติเล่าขานกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ( 356 – 323 ปี ก่อนคริสตกาล ) ซึ่งเป็นจอมจักรพรรดิของกรีก ได้กรีธาทัพแผ่อิทธิพลขยายอาณาจักรเข้ามายังประเทศอินเดีย มีเรื่องเล่ากันว่าแม่ทัพนายกองได้เห็น การชนไก่ ที่อินเดีย จึงได้นำ ไก่ชน ไปขยายพันธุ์ ณ เมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หลังจากนั้นได้นำไก่ที่ขยายพันธุ์ได้ไปฝึกให้มีชั้นเชิงการต่อสู้แบบโรมัน เพื่อนำไปต่อสู้ในสนามโคลีเซียม เมื่ออังกฤษปกครองอินเดียได้นำ ไก่ชน จากอินเดียเข้าไปเผยแพร่ในอังกฤษ โดยยอมรับว่า กีฬาไก่ชน เป็นเกมกีฬาที่ควรได้รับความนิยมจากบุคคลชั้นสูงเช่นเดียวกับการแข่งม้าและฟันดาบ นอกจากนี้ กีฬาชนไก่ ยังได้เผยแพร่เข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ไก่ชนในเอเซีย กีฬา ไก่ชน หรือ ตีไก่ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเซีย เช่น ไทย พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย การชนไก่ ในแถบเอเซียมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และเชื่อว่า ไก่ชน มีพัฒนาการมาจาก ไก่ป่า ซึ่งมนุษย์นำมาเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารประจำบ้าน เมื่อ ไก่ป่า มาอยู่กับคนนานเข้า ก็ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นิสัยประจำตัวของไก่คือหวงถิ่นที่อยู่ ถ้ามีไก่ตัวอื่นๆ ข้ามถิ่นเข้ามาก็จะออกปกป้องที่อยู่อาศัย หรือเมื่อมีการแย่งผสมพันธุ์กับตัวเมีย ไก่ตัวผู้ก็จะตีกัน ซึ่งทำให้เกิดการถือหางกันระหว่างเจ้าของไก่ และด้วยนิสัยของนักพนันจึงทำให้มีการแข่งขันกัน การพัฒนาสายพันธุ์ของ ไก่ป่า จึงมีวิวัฒนาการเรื่อยมา


ภาพไก่สายพันธุต่างๆ




วิธีดูลักษณะไก่ชน
ตามปกติลักษณะ และบุคลิกเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ไก่ชนตัวใดมีบุคลิกลักษณะดี ไก่ตัวนั้นก็มักจะเก่งเป็นส่วนมาก การดูบุคลิกลักษณะไก่ชนที่เก่งมีส่วนประกอบหลายอย่าง

1. ใบหน้าเล็ก คางรัด

2. หงอน (หงอนบางกลางหงอนสูง) (หงอนหิน)

3. ปากเป็นร่องน้ำสองข้างลึก (ปากสีเดียวกับขา)

4. นัยตาดำเล็ก ตาขาวมีสีขาว (ตาปลาหมอตาย) (หรือตาสีเดียวกับสร้อยคอ)

5. สีของของขน

6. สร้อยคอต้องยาวติดต่อสร้อยกลางหลัง

7. ปากใหญ่ยาว

8. คอใหญ่และกระดูกปล้องคอถี่ ๆ

9. หางยาวแข็ง

10. กระดูกหน้าอกใหยาว

11. แข้งเล็ก แห้ง ร่องเกล็ดแข้งลึก และกลม เกล็ดแข้งใส เหมือนเล็บมือ

12. นิ้วเล็กยาว เล็บยาว

13. เม็ดข้าวสารนูนเวลาใช้มือลูบจะคายมือ

14. โคนหางใหญ่

15. อุ้งเท้าบาง แคร่หลังใหญ่

16. เส้นขาใหญ่
การหาพ่อแม่พันธุ์ไก่ โดยปกตินักเลงเล่นไก่ชนมักจะหวงพันธุ์ของแม่ไก่มากกว่าของพ่อไก่ เพราะถือกันว่าสายเลือดของแม่จะให้ได้ลูกไก่พันธุ์ที่ดี วิธีที่จะหาพ่อพันธุ์ให้ได้ไก่เก่ง ท่านต้องเป็นซอกแซกไปเที่ยวตามบ่อนไก่ชนบ่อย ๆ และคอยดูว่าไก่ตัวไหนที่เก่ง คือตีแม่น ชั้นเชิงดี หัวใจทรหด อดทน ไม่หนีง่าย ถ้าไก่ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ เวลาชนเสร็จแล้วชนะ หรือแพ้ จะตาบอดหรือไม่ก็ตาม เอามาทำพ่อพันธุ์ได้ (ตามตำราบอกว่าเอาไก่ที่แพ้มาทำพ่อไก่มันให้ลูกเด็ดนักแล) ท่านซื้อตอนนั้นราคาอาจจะไม่สูงนัก เพราะนักเลงไก่เขาไม่ค่อยเก็บเอาไว้ แต่ถ้าท่านไม่สามารถทำได้ดังกล่าว ท่านต้องไปหาซื้อเอาตามบ้านนักเล่นไก่ชน ส่วนแม่พันธุ์ก็ควรให้มีคุณสมบัติเหมือนตัวผู้ เพราะการผสมพันธุ์ ถ้าทำโดยวิธีการสุกเอาเผากินแล้วจะทำให้ท่านได้ไก่ดียาก เพราะกว่าจะรู้ว่าตัวไหนดีหรือไม่ดีต้องเสียเวลาอย่างน้อยประมาณ 9 - 10 เดือน

วิธีคัดเลือกแม่พันธุ์ และแม่พันธุ์ไก่



โดยปกตินักนิยมเล่นไก่ชนมักจะเลือกสีเป็นอันดับแรก ดังนั้นไก่ที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ควรเลือกจากไก่ที่มีสีดังต่อไปนี้ 1. สีเหลืองหางขาว 2. สีประดู่หางดำ เดือยดำ เล็บดำ ปากดำ (หรือปากคาบแก้ว) 3. สีเขียวเลา (มีสีเขียวสลับกับสีขาวทั้งตัว หางขาวด้วย) 4. สีเขียวกา หรือเขียวแมลงภู่ (หางดำ)เพราะโบราณกล่าวไว้ว่าไก่ 4 สีนี้เป็นสีที่รักเดิมพันมาก ชนได้ราคาแพง ไม่ค่อยแพ้ ส่วนไก่ สีอื่น ๆ นักเลงเล่นไม่นิยมเล่นกัน เพราะเข้าใจว่าเป็นไก่พันธุ์ผสมมาจากสายเลือดอื่น ที่ไม่ใช่ไก่ชนแท้ อาจจะผสมกับไก่โรดส์ หรือไก่เร็คฮอนก็เป็นได้ น้ำใจไก่พวกนี้จึงไม่ทรหดมาก สำหรับแม่พันธุ์นั้นเวลาใช้ผสมพันธุ์ ควรหาให้เป็นสีเดียวกับพ่อพันธุ์ เวลาให้ลูกจะได้สีเหมือนกัน คุณสมบัติ และลักษณะของพ่อพันธุ์ไก่
นอกจากสีของไก่แล้ว พ่อไก่ควรมีคุณสมบัติ และลักษณะดังต่อไปนี้


1. ควรเป็นไก่ที่มีประวัติที่ดี เคยชนชนะจากบ่อนมาแล้ว

2. ปากต้องใหญ่ มีร่องน้ำ 2 ข้างปากลึก (ปากสีเดียวกับขา)

3. นัยตาควรเป็นสีขาว (หรือที่เรียกว่าตาปลาหมอตาย หรือตาสีขน สีเดียวกับสร้อยคอ)

4. คอใหญ่ และกลม

5. หัวปีกต้องใหญ่ และขนปีกยาว

6. นิ้วเล็กเรียวยาว

7. เม็ดข้าวสารท้องแข้งใหญ่ และแข้งกลม

8. สร้อยคอยาวติดต่อกันถึงสร้อยหลัง

9. หางยาวแข็งและเส้นเล็ก

10. กระดูกหน้าอกใหญ่และยาว

11. เดือยใหญ่ และชิดนิ้วก้อยมากที่สุด

12. อุ้งเท้าบางและเล็บยาว

13. เกล็ดแข้งใสเหมือนเล็บมือ และมีร่องลึก



ชั้นเชิงของไก่ชน




ปกติไก่ชนจะมีชั้นเชิงการต่อสู้อยู่ 2 อย่าง คือไก่ตั้ง และไก่ลง ส่วนไก่กอดนั้นเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพ่อพันธุ์ไก่ตั้ง แม่พันธุ์ไก่ลง หรือพ่อพันธุ์ไก่ลง กับแม่พันธุ์ไก่ตั้ง ลูกออกมาจึงกลายมาเป็นไก่กอด ส่วนนักเลงเล่นส่วนมากชอบไก่ตั้ง เพราะการต่อสู้ของไก่ตั้งนั้นเหนื่อยช้าไม่ต้องวิ่งมาก เพราะยืนคอยดักตีอย่างเดียว แต่บางคนชอบไก่เชิง เพราะไก่เชิงไม่ค่อยเจ็บตัวเวลาเข้าชนจะลักตีขโมยตี ดังนั้นถ้าท่านจะผสมก็ควรเลือกชั้นเชิงไก่ให้เหมือนกัน กล่าวคือ ถ้าท่านชอบไก่เชิง ก็ควรหาตัวเมียที่มีชั้นเชิงเหมือนตัวผู้ ถ้าท่านชอบไก่ตั้ง ก็ควรเลือกตัวเมีย ให้ตั้งเหมือนตัวผู้ ถ้าท่านไม่เลือกชั้นเชิงให้เหมือนกันแล้ว ลูกออกมาจะชนเลอะเทอะเป็นไก่โง่ ควรระวังให้มาก เพราะปกติไม่ค่อยคัดเลือกไก่กัน ผสมกันเรื่อยไปจึงไม่ค่อยได้ไก่เก่ง ได้น้อยตัว







การเลี้ยงไก่ให้ได้ผลดี




ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่จะให้ได้ผลผลิตดีนั้น มีสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ดังนี้ 1. โรงเรือนหรือเล้าไก่ ต้องมีโรงเรือนหรือเล้าให้ไก่นอน มีหลังคากันแดดกันฝนได้ ไม่ควรเลี้ยงไก่ไว้ใต้ถุนบ้าน เพราะนอกจากจะไม่ถูกสุขลักษณะแล้ว คนบนเรือนจะถูกไรไก่รบกวนอีกด้วย เกษตรกรสามารถทำเล้าไก่แบบง่าย ๆ ได้เอง โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ แฝก จาก ฯลฯ สถานที่ตั้งของเล้าไก่ ควรให้ห่างจากตัวบ้านพอสมควรและอยู่ในที่ดอนไม่ชื้นแฉะ ไม่ควรอยู่ใกล้ต้นไม้ เพราะไก่ชอบนอนบนต้นไม้จะไม่เข้าไปนอนในเล้า พื้นเล้าอาจจะปูด้วยแกลบหรือขี้เลื่อยหรือฟางแห้งหนาอย่างน้อย 4 ซ.ม. และต้องเปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุก ๆ 3 เดือนให้หนาเท่าเดิมอยู่เสมอ
เล้ากว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ได้ ประมาณ 30-40 ตัว เล้ากว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ได้ประมาณ 6-8 ตัว
ควรมีกรงไก่ขนาดเล็กอีก 2 กรง คือ
กรงหรือสุ่มสำหรับเลี้ยงแม่ไก่กับลูกอ่อน 1 กรง
กรงหรือสุ่ม สำหรับเลี้ยงไก่เล็ก 1 กรง
2. รางน้ำ ต้องมีรางน้ำสำหรับน้ำสะอาดให้ไก่กิน อาจใช้รางไม้ไผ่ผ่าครึ่งก็ได้
3. รางอาหาร ควรมีรางสำหรับให้อาหารไก่ เพราะการให้ไก่จิกกินอาหารบนพื้นดินทำให้ไก่เป็นโรคพยาธิได้ง่าย
ขนาดราง :
ไก่ใหญ่ 10 ตัว ใช้รางยาว 1 เมตร
ไก่รุ่น 10 ตัว ใช้รางยาว 50 เซนติเมตร
ไก่เล็ก 10 ตัว ใช้รางยาว 20 เซนติเมตร
4. รางใส่กรวดและเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่น ไก่ทุกขนาดต้องกินกรวดและเปลือกหอยเพื่อนำไปสร้างกระดูกและเปลือกไข่ กรวดและเปลือกหอยต้องตั้งทิ้งไว้ให้กินตลอดเวลา
5. รังไข่ ปกติแม่ไก่พื้นเมืองจะไข่ในรังไข่เมื่อไข่ได้ 10-12 ฟองจึงจะเริ่มฟักต้องมีจำนวนรังไข่เท่ากับจำนวนแม่ไก่ที่ไข่เพื่อไม่ให้ไก่แย่งกัน ขนาดรังไข่กว้างและยาว 1 ฟุต สูง 8 นิ้วฟุต หรือใช้เข่งก็ได้รองด้วยหญ้าหรือฟางแห้งให้ถึงครึ่งควรตั้งรังไข่ให้อยู่ในที่มิดชิด ไม่ร้อนเกินไป ฝนสาดไม่ถึง แต่แม่ไก่เดินเข้าออกสะดวก
6. ม่านกันฝน ด้านที่ฝนสาดหรือแดดส่องมาก ๆ ควรมีม่านผ้าใบ กระสอบ หรือเสื่อเก่า ๆ ห้อยทิ้งไว้โดยเฉพาะมุมที่วางรังไข่
7. คอนนอน สำหรับให้ไก่นอน ควรจะพาดไว้มุมใดมุมหนึ่งของเล้า คอนนอนควรเป็นไม้กลมดีกว่าไม้เลี่ยมซึ่งไก่จะจับคอนนอนได้ดีและเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลที่หน้าอกไก่อีกด้วย


อาหารไก่พื้นบ้าน

ปกติแล้วการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมักจะปล่อยให้ไก่หาอาหารกินเองตามมีตามเกิด หรือตามธรรมชาติ
โดยที่ผู้เลี้ยงอาจมีการให้อาหารเพิ่มเติมบ้างในช่วงตอนเช้า หรือตอนเย็นอาหารที่ให้ก็เป็นพวกข้าวเปลือก ปลายข้าว หรือข้าวโพด เป็นต้น จากสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ทำให้ความสมบูรณ์ของไก่ผันแปรไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ คือ ในช่วงฤดูฝน ไก่จะมีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับทั้งเมล็ดวัชพืชและหนอนแมลงในปริมาณมาก ซึ่งอาหารทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งของไวตามินและโปรตีนที่สำคัญ ตามธรรมชาติ ทำให้ไก่ในฤดูกาลนี้มีการเจริญเติบโตและความแข็งแรงมากกว่าไก่ในฤดูอื่น ๆ ส่วนในฤดูเก็บเกี่ยว และนวดข้าว ไก่ก็มีโอกาสที่จะได้รับเศษอาหารที่ตกหล่นมาก ทำให้ไก่มีสภาพร่างกายอ้วนท้วนสมบูณ์พอสมควร ส่วนในฤดูแล้งมักจะประสพปัญหาไก่ขาดแคลนอาหารตามธรรมชาติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องน้ำซึ่งมักจะขาดอยู่เสมอ จำเป็นต้องเตรียมไว้ให้ไก่ด้วย หลักในการให้อาหารไก่พื้นบ้านมีดังต่อไปนี้
1. ควรซื้อหัวอาหารเพื่อเอามาผสมกับอาหารที่ผู้เลี้ยงมีอยู่เช่น ผสมกับปลายข้าว หรือรำเป็นต้น อาหารผสมนี้ใช้เลี้ยงไก่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่เล็ก จะทำให้ไก่ที่เลี้ยงโตเร็วและแข็งแรง
2. การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่ด้วย
3.ถ้าเป็นไปได้ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่
4. ควรนำหญ้าขนหรือพืชตระกูลถั่วบางชนิดเช่น ถั่วฮามาต้า ใบกระถิน หรือเศษใบพืชต่าง ๆ เช่น ใบปอ ใบมัน เป็นต้น นำมาสับให้ไก่กินจะทำให้ไก่ได้รับไวตามินและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น
5. การใช้แสงไฟล่อแมลงในตอนกลางคืน นำแมลงนั้นมาเป็นอาหารไก่จะทำให้ไก่ได้อาหารโปรตีนอีกทางหนึ่งนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืชอีกด้วย
6. ควรมีภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำโดยเฉพาะ โดยทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ เช่นยางรถยนต์ หรือไม้ไผ่ ภาชนะสำหรับให้น้ำและอาหารควรวางให้สูงระดับเดียวกับหลังของตัวไก่และใส่อาหารเพียง 1 ใน 3 ก็พอเพื่อให้หกเรี่ยราด สำหรับน้ำนั้นควรใช้น้ำที่สะอาดให้ไก่ดื่มกินตลอดเวลา ส่วนอาหารอาจจะให้เฉพาะตอนเช้า และเย็นเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ไก่หาอาหารกินเอง
7. สำหรับอาหารลูกไก่ ควรเป็นอาหารที่ละเอียด ย่อยง่าย และให้ทีละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการย่อยอาหารของลูกไก่ต้องทำงานหนักเกินไป
8. ในช่วงการให้ไข่และฟักไข่ของแม่ไก่ ควรมีอาหารเสริมเป็นพิเศษสำหรับแม่ไก่ซึ่งจะช่วยให้แม่ไก่แข็งแรงไม่ทรุดโทรมเร็ว และไม่ต้องไปหากินไกล ๆ
9. ในระยะการกกลูกไก่ในคอกนั้น จำเป็นต้องซื้ออาหารสูตรผสม (อาหารไก่เล็ก) ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมาให้ลูกไก่กิน การให้อาหารพวกปลายข้าว
ข้าวเปลือกหรือรำ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้รวมกันจะไม่ได้ผล เพราะจะทำให้ลูกไก่แคระแกรน ไม่แข็งแรง และตายในที่สุด
ดังนั้นจึงควรหาซื้ออาหารสูตรผสมที่มีโปรตีนเมื่อพ้นระยะการกกแล้วใน
ช่วงเวลากลางวันก็สามารถปล่อยให้ไก่ออกหาอาหารตามธรรมชาติบ้าง ในช่วงก่อนค่ำก็ไล่ไก่เข้าคอกและควรให้อาหารสูตรสำเร็จเสริมให้ไก่ หรือจะให้เศษอาหารที่เหลือ หรือพวกปลายข้าว รำข้าว ก็ได้
10. ในกรณีที่เลี้ยงไก่จำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือแหล่งอาหารตามธรรมชาติว่ามีเพียงพอต่อจำนวนไก่หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอก็ควรซื้ออาหารสูตรผสมให้กินเสริมด้วย มิเช่นนั้นจะพบว่าไก่ที่เลี้ยงจะผอม
ไม่แข้งแรง และมักแสดงอาหารป่วยจนถึงตายในที่สุด
11. นอกจากการใช้สูตรอาหารสำเร็จมาใช้เลี้ยงไก่แล้ว ยังมีอาหารอีกรูปแบบหนึ่งที่มีจำหน่ายอยู่ในรูปเข้มข้น
หรือเรียกกันว่าหัวอาหาร ซึ่งสามารถซื้อนำมาผสมกับวัตถุดิบในท้องถิ่นได
้ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด หรือมันสำปะหลังตากแห้ง เป็นต้น การผสมมักจะคำนึงถึงสูตรอาหารที่จะใช้ว่าจะเลี้ยงในระยะลูกไก่หรือไก่รุ่น เมื่อทราบอายุไก่ที่เลี้ยงแล้วก็นำหัวอาหาร และวัตถุดิบที่มีอยู่มาผสมกันตามสัดส่วนที่คำนวณไว้ดังตัวอย่างเช่น ถ้าหัวอาหารประกอบด้วยโปรตีน 42 เปอร์เซ็นต์ จะนำมาผสมกับปลายข้าวที่ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำเป็นสูตรอาหารให้ได้โปรตีน 19 เปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้เลี้ยงลูกไก่ การผสมแบบนี้สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ดังนี้
ขั้นตอนการคำนวณคือ
1. หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของหัวอาหารกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้อง
การผสมในกรณีนี้คือ 42-19 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 23
2. หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของปลายข้าวกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้องการผสม คือ 19-8 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 11 3. จากข้อ 1 และข้อ 2
สรุปผลได้ดังนี้คือ ถ้าเรานำหัวอาหาร จำนวน 11 ส่วน มาผสมกับปลายข้าว จำนวน 23 ส่วน เราก็สามารถผสมสูตรอาหารไก่ที่ประกอบด้วยโปรตีน ประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์ได้
อาหารไก่พื้นบ้าน 2ก่อนอื่นเกษตรกรต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ไก่ต้องการอาหารเพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หายใจ เดิน วิ่ง และการกินอาหาร ใช้ในการสร้างกระดูก เนื้อ หนัง ขน เล็บ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ใช้ในการสร้างไข่ และผลิตลูกไก่ ดังนั้น การที่ไก่จะเจริญเติบโตดี มีความแข็งแรง และให้ไข่มาก ไก่ จะต้องได้กินอาหารเพียงพอ และได้กินอาหารดี โดยสม่ำเสมอทุกวัน ไก่ต้องการอาหารประเภทใดบ้าง ความต้องการอาหารของไก่คล้ายกับคนมาก ไก่ต้องการอาหารทั้งหมด 6 อย่างคือ
1. อาหารประเภทแป้ง เพื่อนำไปสร้างกำลัง ใช้ในการเดิน การวิ่ง อาหารประเภทนี้ได้จากรำ ปลายข้าว ข้าวโพด
ข้าวเปลือก กากมันสำปะหลัง
2. อาหารประเภทเนื้อ เพื่อนำไปสร้างขน เล็บ เลือด เนื้อหนัง อาหารประเภทนี้ได้จากแมลง ไส้เดือน ปลา ปลาป่น
3. อาหารประเภทไขมัน นำไปสร้างความร้อนให้ร่างกาย อบอุ่นได้จากกากถั่ว กากมะพร้าว ไขสัตว์ น้ำมันหมู กากงา
4. อาหารประเภทแร่ธาตุ ไก่ต้องการอาหารแร่ธาตุไปสร้างกระดูก เลือด และเปลือกไข่
แร่ธาตุต่าง ๆ ได้จากเปลือกหอยป่น กระดูกป่น
5. อาหารประเภทไวตามิน สร้างความแข็งแรง และกระปรี้กระเปร่าแก่ร่างกาย สร้างความต้านทานโรค
และบำรุงระบบประสาท มีในหญ้าสด ใบกระถิน ข้าวโพด รำข้าว ปลาป่น
6. น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดต่อร่างกาย ถ้าขาดน้ำไก่จะตายภายใน 24 ชั่วโมง ต้องมีน้ำให้ไก่กินตลอดเวลา การปล่อยให้ไก่หาอาหารเองตามธรรมชาติจนเคยชิน ทำให้เกษตรกรเข้าใจว่าไก่กินรำและปลายข้าวและอาหารตามธรรมชาติก็
เป็นการเพียงพอแล้วแต่การที่จะเลี้ยงไก่ให้ได้ผลดีนั้นเกษตรกร
จะต้องให้การเอาใจใส่เรื่องอาหารและน้ำให้มากขึ้นโดยวิธีการง่าย ๆ ดังนี้
1. ให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และคอยเปลี่ยนน้ำทุก ๆ วัน
2. ให้อาหารผสมทุกเช้าเย็นเพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินได้ตามปกติ
3. ให้อาหารไก่หลาย ๆ ชนิดผสมกัน เช่น ปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพดป่น ปลาป่น ข้าวเปลือก กากถั่ว กากมะพร้าว หัวอาหารไก่สำเร็จรูปชนิดเม็ดหรือชนิดผง
4. มีเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่นตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินตลอดเวลา
5. ให้หญ้าสด ใบกระถิน หรือผักสดให้ไก่กินทุกวัน
6. ในฤดูแล้ง ไก่มักจะขาดหญ้ากินเกษตรกรควรปลูกกระถินไว้บริเวณใกล้ ๆ คอก วิธีปลูกนั้นให้นำเมล็ดกระถินมาลวกด้วยน้ำร้อนนาน 2 ถึง 3 นาที แล้วนำไปแช่น้ำเย็น เสร็จแล้วจึงนำไปเพาะในดินใส่ถุงพลาสติก จนกระทั่งต้นกระถินสูงประมาณ 1 เมตร
จึงย้ายไปปลูกเป็นแถวหรือแนวรั้ว เมื่อต้นกระถินติดดีแล้ว ควรตัดให้ต้นต่ำ ๆ เพื่อไก่จะได้กินถึงหรือจะคอยตัดให้ไก่กินก็ได้ นอกจากนั้นเราอาจเพาะข้าวเปลือกหรือถั่วเขียวให้ไก่กินก็ได้ การเพาะถั่วเขียวให้เอาเมล็ดถั่วเขียวแช่เย็นไว้ 12 ชั่วโมง ล้างใส่ไหคว่ำไว้หมั่นรดน้ำทุก 2-3 ชั่วโมง พอครบ 3 วันก็เอาออกให้ไก่กินได้ ถั่วเขียว 4 กระป๋องนมให้แม่ไก่กินได้ประมาณ 100 ตัว
7. การใช้หัวอาหารไก่สำเร็จรูปผสมลงในรำข้าวหรือปลายข้าวเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด เนื่องจากเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่ายและผสมได้สะดวกเป็นวิธีที่จะเสริมให้ไก่เจริญเติบโตรวดเร็วขึ้น
8. การสังเกตว่าไก่ได้อาหารเพียงพอหรือไม่ให้ดูว่าในระยะแรกที่ให้อาหารไก่จะรีบกินและมีการแย่งกัน ถ้าไก่กินอาหารไปเรื่อย ๆ และเลิกแย่งกันกินอาหารช้าลง มีการคุ้ยเขี่ย แสดงว่าไก่ได้กินอาหารเพียงพอแล้ว





















คลิปไอ้แดง